วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 7 การเขียนรหัสเทียม

7.1 ซูโดโค้ดคืออะไร 
                ซูโดโค้ดเป็นคำอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ถ้อยคำผสมระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างที่เข้าใจง่าย มาแสดงลำดับการทำงานของโปรแกรม หรืออาจใช้ภาษาไทยก็ได้ โดยช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้เป็นโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
7.2 พื้นฐานการเขียนซูโดโค้ด 
                แม้ว่าการเขียนซูโดโค้ดจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอนแต่โดยทั่วไปแล้วมักทำกันดังลักษณะต่อไปนี้ 
การรับข้อมูลเข้าและการแสดงผลข้อมูล 
                ในการรับข้อมูลจะนิยมใช้คำว่า READ หรือ INPUT ตามด้วยตัวแปรที่ต้องการใช้เก็บข้อมูลถ้าหากมีตัวแปรหลายตัวจะใช้เครื่องหมายคอมมา (“,”) คั่น ส่วนการแสดงผลมักใช้คำว่า PRINT หรือ WRITE สำหรับการรับข้อมูล
การคำนวณ 
                ในการประมวลผลแบบคำนวณจะขึ้นต้นด้วยคำว่า Compute หรือ Calculate แล้วตามด้วยตัวแปรที่ต้องการเก็บค่าจากการคำนวณเครื่องหมายเท่ากับและนิพจน์การคำนวณซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องหมายการกระทำทางคณิตศาสตร์ 
การกำหนดค่า
                การกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรจะใช้คำว่า INIT และ SET ถ้าหากเป็นการประกาศตัวแปรจะต้องระบุด้วยคำว่าตัวแปรประเภทใด และถ้าเป็นการประกาศค่าคงที่จะใช้เครื่องหมายเท่ากับในการกำหนดค่า 
7.3 การเขียนซูโดโค้ดสำหรับการตัดสินใจและทดสอบทางเลือก 
                ในการตัดสินใจจะต้องมีการเปรียบเทียบเงื่อนไขเกิดขึ้น โดยผลลัพธ์ที่จะเป็นจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 
                การตัดสินใจเพื่อเลือกทำระหว่างทางสองทางจะใช้คำว่า IF หรือ IF-THEN-ELSE และENDIF โดยจะเปรียบเทียบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำกลุ่มคำสั่ง กลุ่มหนึ่ง ถ้าเป็นเท็จจะทำกลุ่มคำสั่งอีกกลุ่มหนึ่ง 
7.4 การเขียนซูโดโค้ดแบบวนซ้ำ 
                ในการทำซ้ำหมายความว่าให้ระบบทำงานซ้ำ ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยจะมีการเปรียบเทียบเงื่อนไขในการทำซ้ำ แบ่งออกได้ 3 รูปแบบดังนี้ 
1.     การทำซ้ำที่ทราบจำนวนครั้งในการทำซ้ำ 
2.     การทำซ้ำจนระบบมีเงื่อนไขอย่างหนึ่งจึงหยุดทำ 
3.     ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำคำสั่งภายใน

7.5 การเขียนซูโดโค้ดเพื่อเรียกโปรแกรมย่อยและกระโดดข้าม 
                สำหรับการเรียกโปรแกรมย่อยหรือโพซีเยอร์ ใช้คำว่า CALL แล้วตามด้วยชื่อโปรแกรมย่อยหรือโพซีเยอร์ 
                การกระโดดข้ามไปทำชุดคำสั่งใด ๆ จะใช้ชื่อ (LABEL) กำหนดตำแหน่งที่จะกระโดดมาและใช้คำว่า GOTO ในตำแหน่งที่จะกระโดด 
สรุปท้ายบท
                โดยสรุปแล้ว การเขียนซูโดโค้ดเป็นวิธีหนึ่งในการเขียนอัลกอรึทึม  นอกเหนือจากการใช้ผังงานแต่ใช้คำภาษาอังกฤษผสมกับภาษาคอมพิวเตอร์แบบมีโครงสร้างที่เข้าใจง่ายยังมีการเขียนซูโดโค้ดแบบโครงสร้างอีก 3 ลักษณะ ได้แก่ การเขียนซูโดโค้ดสำหรับการตัดสินใจและทดสอบทางเลือก การเขียนซูโดโค้ดแบบวนซ้ำ และการเขียนซูโดโค้ดเพื่อเรียกโปรแกรมย่อยและกระโดดข้าม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น